เข้ามุมทแยงมุมแบบไม่จนมุม

Last updated: 12 Apr 2020  | 

เข้ามุมทแยงมุมแบบไม่จนมุม

Border หรือขอบผ้าควิลท์  เป็นงานขั้นตอนหลัง ๆ ในการทำงานควิลท์  Border ที่ดีมีส่วนช่วยส่งเสริมให้งานควิลท์ของเราดูโดดเด่นสะดุดตา

นอกจากการเลือกสีผ้าและลายผ้าให้เข้ากันกับชิ้นงานแล้ว  วิธีการเย็บต่อ Border ก็มีส่วนช่วยให้งานควิลท์ของเราดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

โดยทั่วไปเรามักจะต่อขอบ Border แบบตรง ๆ มากกว่า  เพราะการต่อแบบทแยงมุม(mitered corner)  ดูจะน่าลำบาก  เอาจอาจทำผ้าย้วยได้ถ้าต่อไม่ถูกวิธี   ยิ่งการต่อ  mitered corner  แบบที่มีผ้าเป็นลายทาง(strip) แบบรูปด้านบนให้เชื่อมกันสนิทแบบมุมต่อมุมยิ่งเป็นเรื่องที่ดูจะยากเข้าไปใหญ่

มาลองดูวิธีต่อ mitered corner แบบ step by step   วิธีอาจจะดูเยอะเล็กน้อย  แต่ถ้าทำตามทุกขั้นตอนรับรองว่าเราสามารถต่อขอบแบบ mitered corner  ได้สวยและไม่มีรอยยับย่นแน่นอน  แล้วเราจะไม่ต้องกลัวการเย็บ  Border  แบบนี้อีกต่อไป


เริ่มจากตัดผ้าสำหรับทำขอบ  4 ชิ้น  ในกรณีที่ผ้าของเราเป้นผ้าลายทางที่ต้องการให้ต่อกันพอดีที่มุม  เราต้องตัดผ้าให้ได้ตำแหน่งเดิมทุกชิ้น  ในรูปจะเห็นว่าผ้าจะตัดที่เส้นสีม่วง ๆ เท่า ๆ กันทุกชิ้น 


ขนาดของผ้าที่ต้องใช้  สำหรับความกว้างเรากำหนดได้ตามความต้องการ
ส่วนความยาวของผ้าขอบให้คำนวณตามรูปด้านบน

ตัวอย่าง  : ชิ้นงานขนาด (รวมตะเข็บ)  52*52 cm    ความกว้าง border(รวมตะเข็บ)  12 cm

ความยาวผ้าที่ต้องใช้ คือ  52+(12*2) + 10 = 52+24+10 = 76 cm


เช็คมุมของชิ้นงานให้เรียบร้อย  ดูว่าตั้งฉากหรือไม่


วางผ้าขอบเทียบกับชิ้นงาน  โดยเริ่มจากวางผ้าให้ตรงกันตำแหน่งตรงกลางทั้ง 2 ชิ้น


กำหนดจุดที่จะเริ่มต้นเย็บให้ห่างจากริมเข็ม  1.0 cm  (เท่ากับความกว้างของตะเข็บ)


วางผ้าให้ตรงตำแหน่งที่จะเย็บแล้วเย็บย้ำให้พอดีตำแหน่งที่แต้มสีไว้ 


เย็บต่อขอบ  2 ชิ้น ในฝั่งตรงข้ามกัน


เย็บฝั่งที่เหลือด้วยวิธีเดียวกัน

 


แต่คราวนี้ให้เย็บจากด้านหลังของงาน  เย็บจนครบทุกด้าน 


จะเห็นว่าฝีเข็มแต่ละด้านจะชนกันพอดี


เย็บเสร็จแล้วจะได้หน้าตาแบบนี้ 

พับชิ้นงานทแยงมุม  45  องศา  แล้วจับขอบ 2 ฝั่งให้เสมอกัน


กลัดเข็มหมุดแล้วตีเส้น 45  องศาเพื่อเป็นแนวเย็บ 


อย่าลืมกลัดเข็มหมุดบริเวณที่เป็นตะเข็บทั้งสองฝั่งให้เรียบร้อย  เพื่อที่เวลาเย็บจะได้ไม่โดนตะเข็บซึ่งเป็นสาเหตุให้มุมขอบเกิดรอยย่นได้


เย็บตามเส้นที่ตีไว้ให้ชนกับรอยเย็บเดิม  ย้ำตะเข็บที่จุดเริ่มต้น


จะเห็นว่าเราจะได้มุมทแยงที่มีลายชนกันพอดี


ตัดผ้าให้เหลือความกว้างเท่าตะเข็บที่ต้องการแล้วรีดแบะตะเข็บ


ออกมาสวยงาม  ลายชนกันพอดีและไม่มีรอยย่นที่มุมด้านใน


แต่ถ้าต้องการ mitered corner แบบ 2  ชั้น  ให้เราเย็บผ้าทั้งสองชั้นเข้าด้วยกันก่อน แล้วเย็บตามขั้นตอนปกติ



เราจะได้ mitered corner แบบ 2  ชั้น ที่ต่อกันพอดี สีไม่เหลื่อมกัน ไม่มีรอยย่น  และงานยังไม่ย้วยอีกด้วย


เย็บงานควิลท์คราวหน้า อย่าลืมลองทำดูนะคะ  แล้วจะรู้ว่าไม่ยากอย่างที่คิด

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy