เข้ามุมทแยงมุมแบบไม่จนมุม

Last updated: 12 เม.ย 2563  | 

เข้ามุมทแยงมุมแบบไม่จนมุม

Border หรือขอบผ้าควิลท์  เป็นงานขั้นตอนหลัง ๆ ในการทำงานควิลท์  Border ที่ดีมีส่วนช่วยส่งเสริมให้งานควิลท์ของเราดูโดดเด่นสะดุดตา

นอกจากการเลือกสีผ้าและลายผ้าให้เข้ากันกับชิ้นงานแล้ว  วิธีการเย็บต่อ Border ก็มีส่วนช่วยให้งานควิลท์ของเราดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

โดยทั่วไปเรามักจะต่อขอบ Border แบบตรง ๆ มากกว่า  เพราะการต่อแบบทแยงมุม(mitered corner)  ดูจะน่าลำบาก  เอาจอาจทำผ้าย้วยได้ถ้าต่อไม่ถูกวิธี   ยิ่งการต่อ  mitered corner  แบบที่มีผ้าเป็นลายทาง(strip) แบบรูปด้านบนให้เชื่อมกันสนิทแบบมุมต่อมุมยิ่งเป็นเรื่องที่ดูจะยากเข้าไปใหญ่

มาลองดูวิธีต่อ mitered corner แบบ step by step   วิธีอาจจะดูเยอะเล็กน้อย  แต่ถ้าทำตามทุกขั้นตอนรับรองว่าเราสามารถต่อขอบแบบ mitered corner  ได้สวยและไม่มีรอยยับย่นแน่นอน  แล้วเราจะไม่ต้องกลัวการเย็บ  Border  แบบนี้อีกต่อไป


เริ่มจากตัดผ้าสำหรับทำขอบ  4 ชิ้น  ในกรณีที่ผ้าของเราเป้นผ้าลายทางที่ต้องการให้ต่อกันพอดีที่มุม  เราต้องตัดผ้าให้ได้ตำแหน่งเดิมทุกชิ้น  ในรูปจะเห็นว่าผ้าจะตัดที่เส้นสีม่วง ๆ เท่า ๆ กันทุกชิ้น 


ขนาดของผ้าที่ต้องใช้  สำหรับความกว้างเรากำหนดได้ตามความต้องการ
ส่วนความยาวของผ้าขอบให้คำนวณตามรูปด้านบน

ตัวอย่าง  : ชิ้นงานขนาด (รวมตะเข็บ)  52*52 cm    ความกว้าง border(รวมตะเข็บ)  12 cm

ความยาวผ้าที่ต้องใช้ คือ  52+(12*2) + 10 = 52+24+10 = 76 cm


เช็คมุมของชิ้นงานให้เรียบร้อย  ดูว่าตั้งฉากหรือไม่


วางผ้าขอบเทียบกับชิ้นงาน  โดยเริ่มจากวางผ้าให้ตรงกันตำแหน่งตรงกลางทั้ง 2 ชิ้น


กำหนดจุดที่จะเริ่มต้นเย็บให้ห่างจากริมเข็ม  1.0 cm  (เท่ากับความกว้างของตะเข็บ)


วางผ้าให้ตรงตำแหน่งที่จะเย็บแล้วเย็บย้ำให้พอดีตำแหน่งที่แต้มสีไว้ 


เย็บต่อขอบ  2 ชิ้น ในฝั่งตรงข้ามกัน


เย็บฝั่งที่เหลือด้วยวิธีเดียวกัน

 


แต่คราวนี้ให้เย็บจากด้านหลังของงาน  เย็บจนครบทุกด้าน 


จะเห็นว่าฝีเข็มแต่ละด้านจะชนกันพอดี


เย็บเสร็จแล้วจะได้หน้าตาแบบนี้ 

พับชิ้นงานทแยงมุม  45  องศา  แล้วจับขอบ 2 ฝั่งให้เสมอกัน


กลัดเข็มหมุดแล้วตีเส้น 45  องศาเพื่อเป็นแนวเย็บ 


อย่าลืมกลัดเข็มหมุดบริเวณที่เป็นตะเข็บทั้งสองฝั่งให้เรียบร้อย  เพื่อที่เวลาเย็บจะได้ไม่โดนตะเข็บซึ่งเป็นสาเหตุให้มุมขอบเกิดรอยย่นได้


เย็บตามเส้นที่ตีไว้ให้ชนกับรอยเย็บเดิม  ย้ำตะเข็บที่จุดเริ่มต้น


จะเห็นว่าเราจะได้มุมทแยงที่มีลายชนกันพอดี


ตัดผ้าให้เหลือความกว้างเท่าตะเข็บที่ต้องการแล้วรีดแบะตะเข็บ


ออกมาสวยงาม  ลายชนกันพอดีและไม่มีรอยย่นที่มุมด้านใน


แต่ถ้าต้องการ mitered corner แบบ 2  ชั้น  ให้เราเย็บผ้าทั้งสองชั้นเข้าด้วยกันก่อน แล้วเย็บตามขั้นตอนปกติ



เราจะได้ mitered corner แบบ 2  ชั้น ที่ต่อกันพอดี สีไม่เหลื่อมกัน ไม่มีรอยย่น  และงานยังไม่ย้วยอีกด้วย


เย็บงานควิลท์คราวหน้า อย่าลืมลองทำดูนะคะ  แล้วจะรู้ว่าไม่ยากอย่างที่คิด

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้